วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

รถไฟความเร็วสูง : Thailand Growth Engine


รถไฟความเร็วสูง : Thailand Growth Engine



รถไฟความเร็วสูงลดการเหลื่อมล้ำ 

ประเด็นเรื่องเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท มันไม่ใช่แค่รถไฟเร็วสูง มันมีมิติอื่นอีกมาก และมันลดความเหลื่อมล้ำ กระจายโอกาส  ในเรื่องของการลงทุน นี่คือหลักง่ายๆ ของเศรษฐศาสตร์ การที่จะหวังให้มีการเติบโตเศรษฐกิจต่อเนื่องโดยไม่มีการลงทุนนั้นเป็นไปไม่ได้ ที่เราอยู่ทุกวันนี้ประเทศไทยเริ่มลำบากขึ้น การทำธุรกิจ ถ้าเราไม่ลงทุน ต่อไปจะคิดไม่ตก ถนนก็แคบ รถไปไม่ได้ ต้นทุนขนส่งสูง นี่คือหลักที่รัฐบาลต้องมองอนาคต  ลดคอขวด และเพิ่มโอกาสให้กับคนทั้งประเทศ





รถไฟรางคู่เชื่อมเพื่อนบ้านได้ไม่มีปัญหา

ประเด็นเรื่องการเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านจริงๆแล้วประเทศเพื่อนบ้านเราไม่ว่าจะเป็นกัมพูชาลาวเวียดนามใช้ราง1เมตรทั้งหมดใช้ขนสินค้าหนัก เช่น อ้อย น้ำตาล ยางพารา ดังนั้นการเชื่อมต่อจีงไม่มีปัญหา โดยจะทำเป็นรางคู่ ระยะทางประมาณ 2 พันกว่ากิโลเมตร ลิมิตความเร็วที่ 160 กม.ต่อชม.โดยรางคู่จะจอดทุกอำเภอ แต่ถ้าอยากได้ความเร็วมากขึ้น ก็ต้องเป็นรถไฟความเร็วสูง ใช้รางสแตนดาร์ตเกต โดยความเร็วจะอยู่ที่ 250-400 กม. เน้นผู้ที่ต้องการความเร็วสูง นักท่องเที่ยวที่ต้องจำกัดเวลา ขนส่งสินค้าที่มีมูลค่าสูง ซึ่งเราต้องทำรางใหม่ โดยวางแนวไว้ 4 เส้นทาง ทางไหนไปทางเก่าได้ก็ไป เพื่อประหยัดการเวนคืน ซึ่งเราจะนำมาวิ่งร่วมกันเหมือนญี่ปุ่นที่มีราง 1 เมตร และ ชินกันเซ็นวิ่งควบคู่กันไป

รถไฟ คือ Growth Engine 

รถไฟความเร็วสูงไม่ใช่แค่รถไฟวิ่ง ไม่ใช่แค่การขนส่ง มันคืออนาคต เราลองดู เรื่องสังคม แต่ก่อนอยู่ต่างจังหวัดจะกลับบ้านสงกรานต์ นั่งรถไฟไปอุดร โคราช นี่ 5 ชั่วโมง แล้วก็ดีเลย์อีกครึ่งชม. แต่ว่าต่อไป กทม.-โคราช จะใช้แค่ชั่วโมงครึ่ง สังคมมันใกล้กันมากขึ้น ต่อไปไม่ต้องอยู่กทม.ก็ได้  ทำให้โอกาสเจริญไป พัฒนาเมืองตามเส้นทาง มีโอกาสอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า  เป็นเมืองตามเส้นทางรถไฟฟ้า ประเทศไทยจะทำได้ไหม   ดูอย่างญ๊่ปุ่นทำแล้วตั้งแต่ปี 1964 รถไฟฟ้าเป็นตัวพัฒนาเมือง   อย่างชินกันเซ็น เวลาผ่านไป 15 ปี บริเวณรอบๆ กลายเป็นเมืองใหม่   นี่คือกำหนดทิศทางการพัฒนา  บอกแล้วว่ารถไฟความเร็วสูงเป็นเครื่องมือ   ถ้าการสร้างมูลค่าเพิ่มไม่ได้ก็จะไม่มีประโยชน์   ดังนั้นตัวอย่างหนองคาย อุดรธานี ต้องการเป็นฮับอะไร   สร้างคาแรกเตอร์ของแต่ละเมืองขึ้นมา เอารถไฟเป็น Growth Engine ต้องมองถึงเศรษฐกิตที่ตามมา อย่างจีนก็เติบโตเพิ่มขึ้นเพราะรถไฟความเร็วสูง 




นอกจากเรื่องค่าตั๋วแล้ว  ญี่ปุ่นเขาเน้นเรื่องพัฒนา ญี่ปุ่นมีรายได้จากพื้นที่ค่าเช่าที่อสังริมทรัพย์ในบริเวณโดยรอบ 33 %   รายได้จากค่าตั๋ว 47.5% และรายได้จากการลงทุนเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจต่างๆอีก 67% ซึ่งเป็นการมองเศรษฐกิจที่ตามมาจากโครงการรถไฟฟ้าไฮสปีดเทรน ตัวอย่างเช่น หนองคาย  เราไปกินร้านแดง แหนมเนือง เจ้าของร้านแดงเข้ามาถามว่า รถไฟความเร็วสูงเมื่อไหร่จะมา จะส่งไปขายที่เมืองจีน ที่กทม. เขาไม่สนใจค่าตั๋ว เขามองเป็นเครื่องมือ ลักษณะการมองอย่ามองแค่การขนส่ง  ให้มองว่าเป็นเครื่องมือทำมาหากินได้ 

ถ้าเราดูเฉพาะค่าตั๋ว โอกาสคุ้มทุนยาก เราต้องดูทุกคนที่เกี่ยวข้อง ถ้าเราดูว่า ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เกษตรกร ลงลึกในเรื่องต่างๆ นักท่องเที่ยว มาใช้จ่ายในจังหวัด มาอยู่โรงแรม ถ้าวิเคราะห์คนที่เกี่ยวข้องกับความเร็วสูง ไม่ใช่แค่คนซื้อตั๋วอย่างเดียว ที่บอกว่ารถไฟสร้างความเหลื่อมล้ำ ไม่จริง แต่มันลงไปถึกถึงประชาชน รากหญ้าทั้งหมด 

ยกตัวอย่าง จีดีพีเชียงใหม่ ถามว่าทำไมGrowthมันสูง อันหนึ่งคือ สายการบินโลว์คอร์สแอร์ไลน์ ปัจจุบัน โลว์คอร์ส ไปเชียงใหม่ 5 ล้านคนต่อปี     3 ล้านคนคือกลุ่มที่ไปเซ็นสัญญาต่างๆ  ไปทำธุรกิจ แล้วไม่ใช่ไปแย่งกับบขส.นะ   แต่เป็นดีมานด์ที่เกิดขึ้นใหม่จากการขนส่งที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นดีมานด์ที่เกิดใหม่ จากการเดินทางที่เกิดขึ้นใหม่ๆ 
ผมอยากเห็นอย่างนี้ นี่คือสิ่งที่เราบอกว่า Growth Engine ไม่ใช่แค่ค่าตั๋ว แต่มันคือความเจริญที่มันเพิ่มขึ้นมาด้วย 





ไฟฟ้าคือทางเลือก

จากนี้ไปอีก10 ปี คาดการณ์ว่าน้ำมันจะอยู่ที่ 200 เหรียญต่อบาเรลล์ แล้วเราจะเดินทางการอย่างไร ไฟฟ้าคือทางเลือก อนาคตถ้าน้ำมันขึ้นไปถึง 200 เหรียญต่อบาเรลล์ก็อยู่กันลำบาก ถ้าเราไม่ลงทุนเผื่ออนาคตก็คงไปได้ยาก รถไฟความเร็วสูงจะมีสายไฟโยงตลอด จะใช้ระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าของแต่ละภาค ไปภาคไหนก็เอาไฟจากตรงนั้น ไม่ต้องแบกน้ำมัน รถไฟเอาไปแค่มอเตอร์แล้วแตะไฟฟ้าจากบนหลังคา นี่คือระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง 


นอกจานี้รถไฟความเร็วสูง สามารถแย่ง มาร์เก็ต แชร์ อย่างที่ประเทศญี่ปุ่นรถไฟความเร็วสูงสามารถแข่งกับเครื่องบินได้ในระยะใกล้ๆ จะสามารถแย่งมาร์เก็ตแชร์ได้ 100% เลย เพราะมันคือเทรนด์การท่องเที่ยวที่สะดวก ไม่ต้องรอเช็คอินนาน มันได้เปรียบเครื่องบินหลายอย่าง อย่างยุโรปหลายประเทศไม่มีเครื่องบินแล้ว รถไฟความเร็วสูงมาแชร์ไปหมด จะเห็นได้ว่าประสบการณ์พวกนี้ เป็นทางเลือกที่ประชาชนนิยม ส่วนประเทศอเมริกา ถ้าพูดตามโอบามาที่กำลังคิดจะสร้างไฮสปีดเทรน คือ รถไฟฟ้าความเร็วสูงคือหัวใจการเติบโตทางเศรษฐกิจ กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าการคมนาคมทางอากาศ


ถ้าเราวางรถไฟความเร็วสูงสำเร็จ จีดีพีจะขึ้นอย่างน้อยปีละ 1 เปอร์เซ็นต์ เหมือนเครื่องมือที่สร้างความเจริญ จากนี้ไปอยู่ได้อีก 50 ปี 100 ปี แล้วมันจะต่อทุกปีต่อเรื่อยๆ มันคือ Growth Engine จะสร้างงาน เศรษฐกิจในระยะยาว ต่อไปแนวคิดใหม่ รถไฟอยู่หน้าบ้าน คนที่ได้คือ อสังหาริมทรัพย์ โดยจะพัฒนาโครงข่ายรอบสถานี ซึ่งส่วนนี้บางส่วนให้เอกชนร่วมลงทุน แล้วกำไรส่วนหนึ่งกลับมาที่รถไฟ กลับมาที่รัฐ เพื่อขยายเส้นทางต่อไป




บนความสอดคล้องสถานีกับท้องถิ่น

แล้วเรามีการวางแนวคิดแต่ละสถานีเป็นอย่างไรให้สอดคล้องกับท้องถิ่นได้ไหมก็พยายามดูให้มีเอกลักษณ์ของไทยอยู่ด้วยอย่างลพบุรีก็อาจจะจอดใต้ดินใต้พระปรางค์3ยอดก็ดูธีมจังหวัดต้องเอาคนพื้นที่มามีส่วนร่วมว่าต้องการให้อยู่ที่ไหน ให้คอนเทนต์อย่างไร อย่างที่อ.พันศักดิ์ ให้นโยบายไว้ ไม่ใช่ขายแค่ตั๋ว แต่เป็นประสบการณ์ อาจจะมีการขายอาหารของภาคต่างๆ มาวางเป็นเบนโต๊ะ เอามาขายในรถไฟได้ไหม ขายภูมิปัญญาท้องถิ่น ไปดูงานที่ญี่ปุ่น ที่อังกฤษ เซาท์แธมตัน ดูการเชื่อมโยงคน ไลฟ์สไตล์กับการขนส่ง ที่นิวยอร์ก ก็มีหลายมิติที่เราไปสร้างมูลค่าเพิ่มได้ เป็นเครื่องมือที่เราต้องคิดว่าจะเอามูลค่าเพิ่มจากตรงนี้ได้อย่างไร 

34 สถานี ใน 4 สายทาง

รัฐต่อยอดเมกะโปรเจ็กต์ 2 ล้านล้าน กระทรวงคมนาคมผนึกกระทรวงการคลังวางแผนดึงเอกชนพัฒนา 34 สถานีไฮสปีดเทรน 4 สายทาง สร้างมูลค่าเพิ่ม  สั่ง ร.ฟ.ท.ยุติต่ออายุสัญญาเช่าที่ดินทั่วประเทศ 1 หมื่นสัญญา ขอใช้ที่ดินธนารักษ์ ปักหมุดสถานี ด้านธนารักษ์รับลูกเคลียร์หน้าดินรอ 5 แห่ง "ลพบุรี-นครสวรรค์-พิษณุโลก-ปากช่อง-ชะอำ" เปิดหาเอกชนพัฒนาเชิงพาณิชย์รอบสถานี 30 ปี สร้างรายได้กลับคืนสู่มือรัฐบาล ห้างเซ็นทรัลส้มหล่น ไฮสปีดเทรนจอดป้ายสระบุรี



นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านทรัพย์สิน เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า   จากที่รัฐบาลมีนโยบายให้หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจทั่วประเทศเร่งสำรวจสินทรัพย์โดยเฉพาะที่ดินตลอดจนอาคารและสิ่งปลูกสร้างนำมาบริหารจัดการเชิงบูรณาการสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นรายได้เข้ารัฐในส่วนการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ซึ่ง 80% เน้นพัฒนาระบบราง จะเปิดพื้นที่ทำเลใหม่ ๆ นอกจากส่งผลดีต่อุรกิจและการลงทุน ทั้งอสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว ฯลฯ แล้ว รัฐก็มีแผนต่อยอดสร้างรายได้เพิ่มจากการพัฒนาที่ดินบริเวณสถานี นอกเหนือจากรายได้จากค่าโดยสาร และจัดเก็บภาษี

จากที่ได้หารือกับกระทรวงคมนาคมทราบว่า นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สนองนโยบายดังกล่าว โดยร่วมมือกับกรมธนารักษ์ ซึ่งรับผิดชอบดูแลที่ราชพัสดุ ขณะเดียวกันก็ประสานงานกับกรมโยธาธิการและผังเมือง กำหนดแนวทางพัฒนาที่ดินรัศมี 1-2 กิโลเมตร รอบสถานี

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แนวคิดการพัฒนาสถานีแนวรถไฟความเร็วสูงทั้ง 4 สายทาง จะแตกต่างจากการพัฒนาสถานีรถไฟฟ้า เพื่อเป็นผลตอบแทนรูปแบบรายได้กลับมาสู่ภาครัฐ โดยจะเลือกจุดที่ตั้งสถานีลงในพื้นที่ส่วนราชการ ที่ราชพัสดุที่อยู่ใกล้ตัวเมือง และพัฒนาโครงข่ายรอบสถานี โดยมีสถานีเป็นตัวนำการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ เช่น อสังหาฯ บางส่วนจะให้เอกชนร่วมทุน นำรายได้มาลงทุนขยายเส้นทางรถไฟ เพราะรายได้จากค่าตั๋วอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ




ดึงเอกชนพัฒนาสถานี

"โครงการต้องตั้งไข่ก่อสร้างให้เรียบร้อยก่อน จึงเชิญเอกชนร่วมลงทุน อาจเป็นรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public-Private Partnership : PPP) หากทำตอนนี้เอกชนจะตัดความเสี่ยงให้รัฐรับภาระทั้งหมด แต่ถ้ามีงานก่อสร้างให้เห็น มีรถไฟฟ้ามาแน่ ผลตอบแทนที่ได้จากเอกชนจะมากขึ้น"

ส่วนนี้จะหารือกรมธนารักษขอใช้ที่ดินในแนวโครงการมาพัฒนาเป็นที่ตั้งสถานีกรมธนารักษ์สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้ที่ดินโดยรอบสถานีได้โดยดึงเอกชนเข้ามาพัฒนารวมกับที่ดินรอบสถานีของการรถไฟฯ

"ผมได้สั่งให้การรถไฟฯหยุดให้เช่าที่ดินแนวรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูงแล้วหากต่อสัญญาเช่าให้ได้ไม่เกิน1 ปี เพราะจะเร่งเคลียร์แนวเส้นทาง ไม่ให้มีสิ่งปลูกสร้างถาวรมาขวางการพัฒนา"

ขณะที่นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ การรถไฟฯ กล่าวว่า ขณะนี้หยุดต่อสัญญาเช่าที่ดินทั่วประเทศในแนวรถไฟทางคู่และไฮสปีดเทรนแล้ว ทั้งหมดมีอยู่กว่า 1 หมื่นสัญญา จะให้เช่าแบบรายเดือนเพื่อเตรียมพื้นที่ก่อสร้างสถานี  ซึ่งสถานีรถไฟความเร็วสูงมี 2 แบบ คืออยู่ร่วมกับสถานีเดิมและสร้างใหม่ ใช้ที่ดินรถไฟและเวนคืนส่วนรถไฟทางคู่จะใช้สถานีรถไฟเดิม การพัฒนาเชิงพาณิชย์จะเลือกเฉพาะที่มีศักยภาพ 





กรมธนารักษ์เปิดหน้าดินรอ 5 สถานี

นายชาญณัฎฐ์ แก้วมณี รองอธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผย ว่า 16 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา ได้หารือร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เบื้องต้นจะนำร่องใช้ที่ดินธนารักษ์แนวเส้นทางรถไฟ เป็นจุดจอดสถานีรถไฟความเร็วสูง 5 สถานี ใน 3 สายทาง 

1.สายเหนือ (กทม.-เชียงใหม่) มีสถานีลพบุรีเดิม ส่วนพื้นที่ใต้ดินบริเวณโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย 103 ไร่ สถานีนครสวรรค์ที่ดินกองทัพบก 200-300 ไร่ พิษณุโลกบริเวณกองบิน 46 ติดทางรถไฟ่ 273 ไร่ 2.สายอีสาน (กทม.-นครราชสีมา) ที่ตั้งสถานีปากช่อง บริเวณพลาธิการทหาร 200-300 ไร่ 

3.สายใต้ (กทม.-หัวหิน) สร้างศูนย์ซ่อมบำรุง บริเวณสำนักงานที่ดินสาขาชะอำ 30 ไร่

"วัตถุประสงค์ที่ร่วมมือกัน ต้องการให้พื้นที่รอบสถานีไฮสปีดเทรนเกิดกิจกรรมการพัฒนา และรัฐมีรายได้เพิ่ม แทนที่จะเป็นภาคเอกชนได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว กรมจะนำที่ดินโดยรอบสถานี 5 แห่งให้เอกชนร่วมลงทุนพัฒนาเชิงพาณิชย์ระยะยาว 30 ปี เช่น คอมเมอร์เชียล คอนโดฯ ตลาดการค้า ส่วนในสถานีเป็นสิทธิของคมนาคม"

นอกจากได้สำรวจที่ดินแนวรถไฟความเร็วสูงสายเหนือและอีสานที่พาดผ่านที่ราชพัสดุ11จังหวัด เช่น โคราช หนองคาย เชียงใหม่ เชียงราย นำมาพัฒนารองรับการพัฒนาสถานีขนส่ง และกระจายสินค้า



เจาะลึก 34 สถานีไฮสปีดเทรน 4 สายทาง

แหล่งข่าวจาก สนข.เปิดเผยว่า แนวเส้นทางและจุดที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูง 4 สายทาง ประกอบด้วย "สาย กทม.-เชียงใหม่" ช่วง กทม.-พิษณุโลก สร้างขนานแนวรถไฟเดิม เมื่อผ่านพิษณุโลกจะตัดแนวใหม่ไปทิศตะวันตก มุ่งไป อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย บรรจบแนวรถไฟเดิมที่ ต.กล้วยแพะ อ.เมือง จ.ลำปาง ผ่าน จ.ลำพูน สิ้นสุดที่ จ.เชียงใหม่ ร669 กิโลเมตร 12 สถานี ได้แก่ บางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่

เฟสแรก "กทม.-พิษณุโลก" 382 กิโลเมตร 7 สถานี ได้แก่
1.บางซื่อ
2.สถานีดอนเมือง อยู่สถานีรถไฟเดิม
3.อยุธยา มี 2 ทางเลือก อยู่ที่เดิม และที่สถานีบ้านม้า 60 ไร่ พัฒนาเชิงพาณิชย์ได้เต็มที่ 
4.ลพบุรี อยู่ที่เดิมแต่เจาะอุโมงค์ใต้ดิน
5.นครสวรรค์ 2 ทางเลือก คืออยู่ที่เดิม หรือที่สถานีปากน้ำโพ 100 ไร่ 6.พิจิตร สร้างใหม่ห่างสถานีเดิมไปทางด้านขวา 1 กิโลเมตร
7.พิษณุโลก 2 ทางเลือก คืออยู่ที่เดิม หรือสร้างใหม่ทางกองบิน 46

"สาย กทม.-ปาดังเบซาร์" 982 กิโลเมตร เฟสแรก "กทม.-หัวหิน" 225 กิโลเมตร
สร้างขนานแนวรถไฟสายใต้เดิมจากบางซื่อ ผ่านนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี และหัวหิน มี 4 สถานี ได้แก่
นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี และหัวหิน จะปรับที่ตั้งสถานีใหม่ 1 แห่ง คือ สถานีเพชรบุรี

ส่วนต่อขยาย "หัวหิน-ปาดังเบซาร์" แนวโน้มจะใช้สถานีรถไฟเดิมมี 7 สถานี คือ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง หาดใหญ่ และปาดังเบซาร์ 

"สาย กทม.-หนองคาย" 615 กิโลเมตร สร้างคู่ขนานกับแนวรถไฟสายอีสาน ช่วง "กทม.-บ้านภาชี" ที่ตั้งสถานีเฟสแรก "กทม.-นครราชสีมา" 250 กิโลเมตร ตำแหน่งชัดเจน 3 สถานี คือ

1.สระบุรี 2 ทางเลือก คืออยู่ที่เดิม หรือสร้างใหม่ห่างอยู่ฝั่งตรงข้ามกับห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล แต่ต้องเวนคืนที่ดินเพิ่ม 150 ไร่

2.ปากช่อง สร้างสถานีใหม่บนที่ดินธนารักษ์ เป็นที่ตั้งของกองทัพบก 500 ไร่ ใช้สร้างสถานี 150 ไร่ ที่เหลือกว่า 300 ไร่ นำมาพัฒนาหารายได้ และ

3.โคราช มี 3 แห่งให้เลือก คือ 1.สถานีรถไฟเดิมมีที่ดินการรถไฟฯ 200 ไร่ 2.ชุมทางจิระ 3.สถานีภูเขาลาด เวนคืนที่ดินเอกชนเพิ่ม 150 ไร่ 

ส่วนต่อขยาย "นครราชสีมา-หนองคาย"เบื้องต้นจะสร้างขนานทางรถไฟเดิม มี 4 สถานี คือ
 
1.บัวใหญ่ 60-70 ไร่
2.ขอนแก่น ใช้สถานีเดิม จะขยายพื้นที่มายังบนสนามกอล์ฟการรถไฟฯ 200 ไร่
3.อุดร ใช้สถานีเดิม 200 ไร่ หรือหาที่สร้างใหม่นอกเมือง
4.หนองคาย อยู่ตรงสถานีเดิมตรงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 200 ไร่ 

สำหรับ "สาย กทม.-ระยอง" 221 กิโลเมตร
เบื้องต้นคาดว่าจะสร้างขนานแนวรถไฟสายตะวันออกเดิม 4 สถานี ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พัทยา และระยอง 

ดึงเอกชนพัฒนา 174 สถานี

ก่อนหน้านี้ นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.มีแนวคิดจะนำพื้นที่สถานีรถไฟฟ้าให้เอกชนมาพัฒนาร่วม 174 สถานี ในเส้นทางรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ทั้งสายเก่าและสายใหม่ เช่น สีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) เขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ชมพู (แคราย-มีนบุรี) ส้ม (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี) น้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) เป็นต้น

Resource from:


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1368896647

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น